วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

รำวงวันลอยกระทง


เนื้อเพลง รำวงวันลอยกระทง 


                                               วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง 

                                            เราทั้งหลายชายหญิง  

                                             สนุกกันจริง วันลอยกระทง
                                             ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง
                                           ลอยกระทงกันแล้ว
                                      ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง

                                           รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง
                                        บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ
                                      วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง
                                        เราทั้งหลายชายหญิง
                                      สนุกกันจริง วันลอยกระทง
                                      ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง
                                       ลอยกระทงกันแล้ว 

                                    ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง
                                   รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง
                                      บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ

ประวัติลอยกระทง

   ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน 

          ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า 
          ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศที่ว่า 

          "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลาย..." 

          เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 

          ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย 

ลอยกระทง2013





ลอยกระทง2013
วันลอยกระทงจาก kapook.com

ประวัติวันลอยกระทง ความสําคัญของประเพณีลอยกระทง



















แชร์รูปลอยกระทงให้เพื่อนผ่านทาง facebook คลิกที่รูปเลยจ้า

  • ลอยกระทง
  • ลอยกระทง
  • ลอยกระทง
  • ลอยกระทง
  • ลอยกระทง
  • ลอยกระทง
  • ลอยกระทง
  • ลอยกระทง
  • ลอยกระทง






กำหนดวันลอยกระทง 

          วันลอยกระทงของทุกปีจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทินสุริยคติจะราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเดือน 12 นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจึงเย็นสบาย และอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก มีน้ำขึ้นเต็มฝั่ง ทำให้เห็นสายน้ำอย่างชัดเจน อีกทั้งวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ทำให้สามารถเห็นแม่น้ำที่มีแสงจันทร์ส่องกระทบลงมา เป็นภาพที่ดูงดงามเหมาะแก่การชมเป็นอย่างยิ่ง 



11 สถานที่จัดงานลอยกระทง ยอดนิยมในกรุงเทพ

11 สถานที่จัดงานลอยกระทง ยอดนิยมในกรุงเทพ

ลอยกระทง กรุงเทพฯ 2556

ลอยกระทง กรุงเทพฯ 2556

ลอยกระทง กรุงเทพฯ 2556

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

           ใกล้ถึงเทศกาลลอยกระทง ประจำปี 2556 เข้ามาทุกที ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2556 เราเชื่อว่าหลาย ๆ คนคงวางแผนชวนครอบครัว คนรัก และเพื่อน ๆ เดินทางไปลอยกระทงด้วยกัน แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าจะไปลอยกระทงไหนดี วันนี้กระปุกท่องเที่ยวเลยมารวบรวม 11 สถานที่จัดงานลอยกระทง 2556 ยอดนิยมในกรุงเทพฯ มาแนะนำกัน ส่วนจะมีที่ไหนจัดงานบ้างนั้น ตามเราไปดูกันเลย
           1. เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์

ลอยกระทง กรุงเทพฯ 2556

ลอยกระทง กรุงเทพฯ 2556

ลอยกระทง กรุงเทพฯ 2556
           แหล่งท่องเที่ยวที่เน้นไลฟ์สไตล์ช้อปปิ้งริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ขอเชิญเที่ยวงานประเพณีลอยกระทง ภายใต้ชื่องาน "สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง" ระหว่างวันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2556 ณ Asiatique The Riverfront (เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์) พร้อมชมการแสดง แสง สี เสียง อันตระการตา และพลุประกอบกลางแม่น้ำ พร้อมตื่นตากับเรือไฟฟ้าขนาดใหญ่ การแสดงสุดยอดประเพณี 4 ภาค ที่จะมาสร้างสีสันให้กับรายการอีกด้วย

           ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ thaiasiatique.com และเฟซบุ๊ก Asiatique The Riverfront (เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์)

           2. สะพานพระราม 8
           หนึ่งในสถานที่ลอยกระทงยอดฮิตอีกหนึ่งที่ของคนกรุง สำหรับบริเวณเชิงสะพานพระราม 8 ฝั่งธนบุรี ที่ตั้งอยู่ภายในเขตบางพลัด ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการจัดงาน พร้อมทั้งเปิดพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับนักท่องเที่ยวได้ลงไปลอยกระทงในทุก ๆ ปี โดยภายในงานจะเน้นการส่งเสริมและอนุรักษ์การท่องเที่ยวประเพณีลอยกระทงแบบดั้งเดิม เพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีการท่องเที่ยวให้คงอยู่อีกด้วย

           3. เขาดินวนา
           "เขาดินวนา" สถานที่สำหรับจัดงานลอยกระทงในทุก ๆ ปี เพราะด้วยพื้นกว้างขวาง พร้อมด้วยบึงน้ำขนาดใหญ่ ที่มีการออกแบบกระทงสำหรับการประกวดด้วยกระทงโล่พระราชทานสวย ๆ ถือเป็นกระทงที่มีรูปร่างขนาดใหญ่ ซึ่งมีการประดับตกแต่งอย่างวิจิตรงดงาม เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาลอยกระทงเป็นครอบครัว โดยสามารถเที่ยวชมสวนสัตว์ในช่วงเวลากลางวัน พร้อมไปกับการชมการแสดง, ประกวดกระทง และลอยกระทงในช่วงเย็นได้อีกด้วย

           4. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย              

           ในปีนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาพร้อมกับความพิเศษที่คาดเดายาก ภายในมหาวิทยาลัยจะมีการจัดกิจกรรมประเพณีในวันลอยกระทงในทุก ๆ ปี ภายใต้แนวคิด “ลอยกระทง จุฬาฯ 2556 ยิ่งใหญ่ จัดเต็ม ชมฟรีตลอดงาน” ซึ่งจะมีการจัดซุ้ม ออกร้านของเหล่านิสิต เพื่อสร้างสีสันให้กับงาน การแสดง และจัดขบวนในรูปแบบต่าง ๆ ตามธีมของงานในแต่ละปี โดยบริเวณที่จัดงาน ได้แก่ สระน้ำหน้ามหาวิทยาลัย

            5. ท่าน้ำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
           ท่าน้ำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) แม้ว่าพื้นที่มหาวิทยาลัยมีขนาดเล็ก แต่บริเวณนี้เป็นสถานที่ยอดฮิตที่มีคนเดินสัญจรไปลอยกระทงกันมากมายในทุกๆ  ปี ซึ่งจะมีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ รวมทั้งมีบริการเรือสำหรับพาคนไปลอยที่กลางแม่น้ำอีก แต่ด้วยสถานที่ที่ค่อนกะทัดรัดอาจจะทำให้คนเยอะมากกว่าปกติ ดังนั้น ควรจะเดินทางไปในช่วงหัวค่ำจะสะดวกกว่า

           6. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

ลอยกระทง กรุงเทพฯ 2556

           มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอเชิญชวนร่วมงานเทศกาลแห่งสายน้ำ เทศกาล "สีสันแห่งนนทรี ประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2556” ในวันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2556 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน (ประตูพหลโยธิน) สำหรับกิจกรรมภายในงาน ได้แก่ การเฟ้นหาสาวงามในการประกวดนางนพมาศ ประจำปี 2556, การแสดงจากชมรมต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย, การออกร้านจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ และโซนกิจกรรมจากนิสิตและบุคคลทั่วไป และการแสดงจากชมรมต่าง ๆ จากมหาวิทยาลัย เป็นต้น

           7. มหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมากและบางนา)

           มหาวิทยาลัยรามคำแหง ทั้งวิทยาเขตหัวหมากและบางนา เป็นสถานที่ยอดฮิตสำหรับชาวกรุงเทพฯ เดินทางไปลอยกระทงเป็นจำนวนมาก บริเวณสระน้ำภายในมหาวิทยาลัยฯ โดยภายในงานมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น การประกวดกระทง, เวทีการแสดงวัฒนธรรมไทย อย่างการร้อง, รำ เป็นต้น นอกจากนี้ บริเวณรอบ ๆ บึงจะมีร้านค้าขายของมากมาย ส่วนใหญ่จะขายกระทง และอาหารการกินเป็นหลัก ซึ่งเป็นกระทงที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ ทั้งต้นกล้วยและใบตอง หรือไม่ก็ดอกบัว ขนมปัง เปลือกข้าวโพด อีกทั้งบริเวณใกล้ ๆ อย่างสนามกีฬา กกท. ยังมีบึงน้ำสำหรับลอยกระทง พร้อมด้วยการจำหน่ายอาหาร, สินค้า OTOP และอุปกรณ์การเล่นโบราณ เช่น ปาโป่ง ชิงช้าสวรรค์ ฯลฯ

           8. สวนลุมพินี

ลอยกระทง กรุงเทพฯ 2556
           นอกจากจะเป็นสวนสาธารณะที่สวยงามแล้ว "สวนลุมพินี" ยังถูกเลือกให้เป็นหนึ่งในสถานที่จัดเทศกาลลอยกระทงเป็นประจำทุกปี เพราะด้วยความร่วมรื่นของพื้นที่สีเขียว มีบึงน้ำขนาดใหญ่ จึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับใช้เป็นสถานที่สำหรับลอยกระทง รวมทั้งสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของตึกสูง ที่ตั้งอยู่รอบ ๆ พื้นที่สีเขียวอย่างสวนลุมพินีได้ เรียกได้ว่ามาถึงที่นี่จะได้เห็นบรรยากาศความงดงามของแสงไฟจากตึก และแสงไฟจากกระทงที่สะท้อนจะพื้นน้ำ แหม...ช่างได้บรรยากาศโรแมนติกอีกด้วย

          9. บึงกุ่ม

          เทศกาลลอยกระทงของที่นี่ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่พลาดไม่ได้ เพราะที่บริเวณสำนักงานเขตบึงกุ่ม มีสวนสาธารณะพร้อมด้วย สระน้ำขนาดใหญ่  ซึ่งชาวกรุงเทพฯ ที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงมักเดินทางมาลอยกระทงเป็นประจำทุกปี แถมบรรยากาศโดยรอ ยังเต็มไปด้วยความร่มรื่นของต้นไม้และพื้นหญ้าสีเขียวอีกด้วย

         10. บึงพระรามเก้า

         พื้นที่วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่สำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการมาท่องเที่ยวสืบสานประเพณีอันงดงามอย่างประเพณีลอยกระทง เพราะด้วยพื้นที่ของวัดที่มีบึงน้ำ ทำให้บริเวณวัดกลายเป็นอีกหนึ่งสถานที่สำหรับลอยกระทง เพื่อขอขมาแม่น้ำ หลังจากที่ได้ร่วมดื่ม กิน ใช้ เป็นประจำทุกวัน นอกจากนี้ ยังสามารถนำสิ่งของต่าง ๆ ไปทำบุญ ในวันเพ็ญเพื่อความเป็นสิริมงคลได้อีกด้วย

         11. งานภูเขาทอง
ลอยกระทง กรุงเทพฯ 2556
 

         งานวัดภูเขาทอง เป็นหนึ่งเทศกาลงานวัดที่คนกรุงเทพฯ เฝ้ารอ เพราะเป็นต้นกำเนิดของงานวัดในเมืองไทย และนอกจากจะได้ร่วมสนุกกับกิจกรรมภายในงานแล้ว ยังเป็นโอกาสดีที่พุทธศาสนิกชนได้ร่วมสักการบูชาพระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) ที่เป็นมงคลพิธีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 10-19 พฤศจิกายน 2556 ณ บริเวณพระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) และลานพระวิหาร วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

         สำหรับงานวัดภูเขาทอง ทางวัดจะเปิดให้ประชาชนขึ้นไปกราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุในตอนกลางคืนเป็นช่วงเวลาพิเศษ โดยสิ่งที่ไม่ควรพลาด นั่นคือ การขึ้นไปกราบนมัสการปิดทองพระบรมสารีริกธาตุ, ชมพระบรมบรรพตที่ชั้นบนสุด และการเข้าไปชมความงามของพระพุทธรูปและภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ รวมถึงการไปเดินเล่น เดินชิลในเทศกาลงานสมโภชองค์พระบรมสารีริกธาตุ ที่มีเวทีกิจกรรมการแสดง การแสดงดนตรีไทย บ้านผีสิง ชิงชาสรรค์ ปาเป้า เป่าลูกโป่งรวมถึงร้านค้าจากทั่วประเทศที่เอาสินค้าขึ้นชื่อมาจำหน่ายมากมาย


         นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เราได้รวบรวมนำมาฝากสำหรับเป็นตัวเลือกเท่านั้น เพราะนอกจากนี้แล้วสถานที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ ยังจัดสถานที่ให้ลอยกระทงอีกเพียบ ไม่ว่าจะเป็นท่าน้ำต่าง ๆ หรือสวนสาธารณะ ที่มักจัดงานลอยกระทง สำหรับใครที่ไม่อยากต้องออกมารถติดในช่วงเทศกาล อาจจะสถานที่ใกล้ ๆ บ้าน สำหรับเดินทางไปลอยกระทงก็ได้เช่นกัน